วันอาทิตย์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2557

อนุทิน 4


1. ใครเป็นผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก และมีเหตุผลอย่างไร และประเด็นที่
เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เป็นอย่างไร อธิบาย
ตอบ ผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก คือ สมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7
เหตุผลที่ผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามถือเป็นฉบับแรกคณะราษฎร์เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยได้กล่าวไว้ว่า “บัดนี้การศึกษาสูงขึ้นแล้ว มีข้าราชการประกอบด้วยวุฒิปรีชาในรัฐภิปาลนโยบายสามารถนาประเทศของตน ในอันที่จะก้าวหน้าไปสู่สากลอารยธรรมแห่งโลกโดยสวัสดี สมควรแล้วที่จะพระราชทานพระบรมวโรกาส ให้ข้าราชการและประชาชนของพระองค์ ได้มีส่วนมีเสียงตามความเห็นดีเห็นชอบในการจรรโลงประเทศสยามให้วัฒนาการในภายภาคหน้ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ พระราชทานรัฐธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามตามความประสงค์เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พุทธศักราช 2475 และประกาศเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พุทธศักราช 2475 ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 49

2. แนวนโยบายแห่งรัฐในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช
2492 ได้กำหนดอย่างไร อธิบาย
ตอบ   หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
มาตรา 36 บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการศึกษาอบรม เมื่อการศึกษาอบรมนั้นไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาอบรมและไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรสถานศึกษา สถานศึกษาของรัฐและของเทศบาล ต้องให้ความเสมอภาคแก่บุคคลในการเข้ารับการศึกษาอบรมตามความสามารถของบุคคลนั้น ๆ
หมวด 4 หน้าที่ของชนชาวไทย
มาตรา 53 บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษา ภายในเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ
หมวด 5 แนวนโยบายแห่งรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
มาตรา 62 การศึกษาอบรมพึงมีจุดประสงค์ที่จะให้ชนชาวไทยเป็นพลเมืองดี มีร่างกายแข็งแรงและอนามัยสมบูรณ์ มีความรู้ความสามารถที่จะประกอบอาชีพ และมีจิตใจเป็นนักประชาธิปไตย
มาตรา 63 รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรม การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายในการควบคุมดูแลของรัฐ การศึกษาอบรมชั้นอุดมศึกษา รัฐพึงจัดการให้สถานศึกษาดาเนินกิจการของตนเองได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายบัญญัติ
มาตรา 64 การศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษาในสถานศึกษาของรัฐและของเทศบาล จะต้องจัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน รัฐพึงช่วยเหลือให้มีอุปกรณ์การศึกษาอบรมตามสมควร มาตรา 65 รัฐพึงสนับสนุนการค้นคว้าในทางศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์
(ราชกิจจานุเบกษา, 2492, 25-27)

3. เปรียบเทียบแนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ
พุทธศักราช 2511 พุทธศักราช 2517 และ พุทธศักราช 2521 เหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
ตอบ   แนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ
พุทธศักราช 2511 พุทธศักราช 2517 และ พุทธศักราช 2521 เหมือนกันตรงที่การจัดอบรมชั้นประถมศึกษา ของรัฐและเทศบาล โดยไม่มีการเก็บค่าเล่าเรียน

4. ประเด็นที่ 1 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490 ประเด็นที่ 2 รัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช 25492-2517 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
ตอบ  ในประเด็นที่ 1 จะไม่ค่อยบังคับด้านการศึกษาโดยจะให้เสรีในการเลือกตัดสินใจ  ประเด็นที่ 2 มีการเข้มงวดในเรื่องการศึกษาโดยทางรัฐบาลจะช่วยเหลือด้านเข้าเล่าเรียน

5. ประเด็นที่ 3 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2521-2534 ประเด็นที่ 4 รัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช 2540-2550 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
ตอบ   เหมือนกันที่ รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรมและการฝึกอบรมตามความเหมาะสมและความต้องการของประเทศ การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะ สถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐ รัฐพึงช่วยเหลือผู้ยากไร้ให้ได้รับทุนและปัจจัยต่าง ๆบุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย การศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพและเอกชนภายใต้การกากับดูแลของรัฐ ย่อมได้รับการคุ้มครองทั้งนี้ ตามที่กฎหมาย
6. เหตุใดรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจะต้องระบุในประเด็นที่รัฐจะต้องจัดการศึกษาอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง อธิบาย
ตอบ  มีการปรับเปลี่ยนตามความต้องการของประเทศและตามเศรษฐกิจในยุคปัจจุบัน 

7. เหตุใดรัฐจึงต้องกำหนด “บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ” จงอธิบาย หากไม่ปฏิบัติจะเกิดอะไรขึ้น
ตอบ เมื่อกำหนดรัฐธรรมนูญขึ้นมาจะต้องมีหน่วยงานของรัฐและเอกชนมาให้ความช่วยเหลือทางด้านการศึกษาให้ทั่วถึงและความเสมอภาคแก่ปวงประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน หากไม่ปฏิบัติจะเกิดความไม่เสมอภาคความไม่เท่าเทียมกันและขาดการช่วยเหลือทางการศึกษา

8. การจัดการศึกษาที่เปิดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาหากเราพิจารณารัฐธรรมนูญมีฉบับใดบ้างที่ให้องค์กรส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วม และถ้าเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมมากขึ้นท่านคิดว่าเป็นอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ  ฉบับที่ 5-10  (พ. 2540-2550)และถ้าเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมมากขึ้นคิดว่าโอกาสที่ประชาชนจะได้รับการศึกษาสูงและได้รับการช่วยเหลือในเรื่องต่าง ๆ อย่างทั่วถึง

9. เหตุใดการจัดการศึกษา รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน ส่งเสริมความเสมอภาคทั้งหญิงและชาย พัฒนาความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว และความเข็มแข็งของชุมชน สังเคราะห์ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส จงอธิบาย
ตอบ ความเสมอภาคและการช่วยเหลือที่เท่าเทียมกันและการปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสานึกของความเป็นไทย มีระเบียบวินัย คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

10. ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มีผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ     ในด้านการศึกษา
1. นโยบายเรียนฟรี 15 ปี
             2. ค่าใช้จ่ายในการซื้ออุปกรณ์การเรียน
             3.  การมอบทุนการศึกษา
             4. การให้การศึกษาแก่ผู้พิการ

อนุทิน 3



1. ท่านคิดว่าทำไมมนุษย์เราเองต้องมีกฎหมายหากไม่มีจะเป็นอย่างไร
ตอบ    สังคมมนุษย์จะมีการอยู่กันเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะเกิดความคิดเห็นที่แตกต่างกัน และจะทำให้เกิดการขัดแย้ง เพราะมีอยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้นสังคมจึงต้องมีกฎหมายและระเบียบต่างๆขึ้นเพื่อจำกัดสิทธิบางอย่าง และการมีเสรีภาพเท่าที่จำเป็น เพื่อที่จะได้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ไม่ให้เกิดความขัดแย้งกัน เช่น เข่นฆ่า การเอารัดเอาเปรียบกันขึ้น เป็นต้น กฎและระเบียบต่างๆนี้เกิดขึ้นมานานแล้ว ตั้งแต่สมัยก่อน และเมื่อวิวัฒนาการในการสื่อสารเข้าใจกันมากขึ้น และเกิดการรวมตัวกันเป็นกลุ่ม  เป็นสังคม หลังจากนั้นก็มีผู้นำเกิดขึ้น ที่มีอำนาจเหนือกว่าคนอื่น และมีการออกกฎระเบียบ เพื่อปกครองสังคมของตน โดยมีการอยู่ร่วมกันได้ ซึ่งระเบียบข้อกำหนดดังกล่าวจะถูกสร้างขึ้นมาโดยถือเอาความกลัว หรือความไม่รู้ของมนุษย์เป็นตัวตั้งและกฎหมายเป็นเครื่องควบคุมพฤติกรรมของตนในสังคม โดยมีการพัฒนาขึ้นมาจากศีลธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ศาสนา และกฎเกณฑ์ข้อบังคับตามลำดับ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความสงบของสังคมและศีลธรรมอันดีของสมาชิกในสังคม เพื่อให้การอยู่ร่วมกันในสังคมนั้นเป็นไปโดยราบรื่น สนองความต้องการของภาคส่วนต่าง ๆ อย่างเหมาะสม
         หากสังคมของมนุษย์เรานี้ไม่มีกฎหมาย สังคมก็จะตกอยู่กับผู้ที่มีอำนาจ ไม่มีกฎเกณฑ์ ไม่มีบทลงโทษ ในที่สุดก็จะไม่มีระเบียบวินัย บ้านเมืองมีปัญหาวุ่นวาย มนุษย์ต่างคนต่างจะทำในสิ่งที่ตัวเองต้องการ โดยไม่เกรงกลัวความผิด  ผู้ที่มีอิทธิพลก็จะควบคุมคนในสังคม โดนการเอารัดเอาเปรียบ จากผู้ที่มีอำนาจมากกว่า เป็นต้น

2.ท่านคิดว่าสังคมปัจจุบันจะอยู่ได้หรือไม่หากไม่มีกฎหมายและจะเป็นอย่างไร
ตอบ  ถ้าไม่มีกฎหมายในปัจจุบัน บ้านเมืองก็คงเกิดความวุ่นวายในสังคม  คนที่มีโอกาสน้อยกว่าผู้อื่นก็จะโดนเอาเปรียบจากผู้ที่มีโอกาสมากกว่า โดยผู้น้อยก็ไม่มีสิทธิ์เรียกร้องอะไร ความสงบสุขก็จะหายไป และสังคมในปัจจุบันก็จะอยู่ไม่ได้ หากไม่มีกฎหมายบังคับ จัดระเบียบให้กับสังคม  จะทำให้บ้านเมืองวุ่นวาย gเกิดปัญหาต่างๆมากมาย  เกิดขึ้นเช่น  การปล้น  การฆ่า เกิดมิจฉาชีพต่างๆ  ก่อให้เกิดความขัดแย้ง มีการทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกาย เป็นต้น

3. ท่านมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นของกฎหมายต่อไปนี้

 ก. ความหมาย      
ตอบ กฎหมาย คือ ระเบียบ ข้อบังคับ และบทบัญญัติซึ่งผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐหรือประเทศ เป็นผู้กำหนดมาเพื่อใช้ในการบริหารกิจการบ้านเมืองหรือประเทศ หรือบังคับความประพฤติของ ประชาชนในรัฐหรือประเทศนั้นให้ปฏิบัติตาม เพื่อให้เกิดความสงบสุขในสังคม หากผู้ใดฝ่าฝืนจะได้รับผลอย่างใดอย่างหนึ่งตามกฏหมาย

ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย
ตอบ            1.เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาอธิปไตยที่องค์กรหรือคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดอาทิรัฐสภาฝ่ายนิติบัญญัติหัวหน้าคณะปฏิวัติกษัตริย์ในระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สามารถใช้อำนาจบัญญัติกฎหมายได้เช่นรัฐสภาตราพระราชบัญญัติคณะรัฐมนตรีตราพระราชกำหนดพระราชกฤษฎีกาคณะปฏิวัติออกคาสั่งหรือประกาศคณะปฏิวัติชุดต่างๆถือว่าเป็นกฎหมาย
2.มีลักษณะเป็นคาสั่งข้อบังคับอันมิใช่คาวิงวอนประกาศหรือแถลงการณ์อาทิประกาศของกระทรวงศึกษาธิการคาแถลงการณ์ของคณะสงฆ์ให้ถือเป็นแนวปฏิบัติมิใช่กฎหมายสาหรับคาสั่งข้อบังคับที่เป็นกฎหมายเช่นพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.. 2545 พระราชกำหนดบริหารราชการฉุกเฉิน พ.. 2548 เป็นต้น
3.ใช้บังคับกับคนทุกคนในรัฐอย่างเสมอภาคเพื่อให้ทุกคนเกรงกลัวและถือปฏิบัติสังคมจะสงบสุขได้เช่นกฎหมายที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้ใช้บังคับกับผู้ที่มีเงินได้แต่ไม่บังคับเด็กที่ยังไม่มีเงินได้การแจ้งคนเกิดภายใน 15 วันแจ้งคนตายภายใน 24 ชั่วโมงยื่นแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกินเมื่ออายุย่างเข้า 18 ปีเข้ารับการตรวจคัดเลือกเป็นทหารประจาการเมื่ออายุย่างเข้า 21 ปี เป็นต้น
4.สภาพบังคับซึ่งบุคคลจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายโดยเฉพาะการกระทาและการงดเว้นการกระทาตามกฎหมายนั้นๆกำหนดหากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามฝ่าฝืนอาจถูกลงโทษหรือไม่ก็ได้และสภาพบังคับในทางอาญาคือโทษที่บุคคลผู้ที่กระทาผิดจะต้องได้รับโทษเช่นรอลงอาญาปรับจาคุกกักขังริมทรัพย์แต่หากเป็นคดีแพ่งผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือค่าเสียหายหรือชาระหนี้ด้วยการส่งมอบทรัพย์สินให้กระทาหรืองดเว้นกระทาอย่างใดอย่างหนึ่งตามมูลหนี้ที่มีต่อกันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้เช่นบังคับใช้หนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยบังคับให้ผู้ขายส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อตามสัญญาซื้อขาย เป็นต้น

ค. ที่มาของกฎหมาย
ตอบ       
ที่มาของระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร
1. กฎหมายลายลักษณ์อักษร ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร เป็นระบบที่สืบทอดมาจากกฎหมายโรมัน ซึ่งให้ความสำคัญกับตัวบทกฎหมายที่บัญญัติขึ้นใช้โดยถูกต้องตามกระบวนการบัญญัติกฎหมาย ดังนั้นที่มาประการสำคัญของระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษรก็คือกฎหมายที่มีการบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์ อักษร ซึ่งอาจมีหลายลักษณะด้วยกัน เช่น รัฐธรรมนูญ ประมวลกฎหมาย พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง เป็นต้น
2. จารีตประเพณี ในบางครั้งการบัญญัติกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษร จะให้ครอบคลุมทุกเรื่องเป็นไป
ได้ยาก จึงต้องมีการนำเอาจารีตประเพณี มาบัญญัติใช้เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรด้วย เช่น การชกมวยบนเวที ถ้าเป็นไปอย่างถูกต้องตามกติกา ถึงแม้ว่าคู่ต่อสู้จะบาดเจ็บหรือเสียชีวิตก็ไม่มีความผิด หรือแพทย์ที่ตัดแขนตัดขาคนไข้โดยที่คนไข้ยินยอมก็ไม่มีความผิด เป็นต้น เท่าที่ผ่านมายังไม่มีการฟ้องร้องคดีเรื่องเหล่านี้เลย  ซึ่งคงจะเป็นเพราะจารีตประเพณีที่รู้กัน
โดยทั่วไปว่าเป็นเสมือนกฎหมาย
3. หลักกฎหมายทั่วไป ในบางครั้งถึงแม้จะมีกฎหมายลายลักษณ์อักษร และกฎหมายจารีตประเพณี มาใช้พิจารณาตัดสินความแล้วก็ตามแต่ก็อาจไม่เพียงพอครอบคลุมได้ทุกเรื่อง จึงต้องมีการนำ
เอาหลักกฎหมายทั่วไป ซึ่งประเทศอื่น ๆ ที่มีความก้าวหน้าทางกฎหมาย ได้ยอมรับกฎหมายนั้นแล้ว มาปรับใช้ในการพิจารณาตัดสินคดีความด้วย เช่น หลักผู้รับโอนไม่มีสิทธิ์ดีกว่าผู้รับโอน โจทย์พิสูจน์ไม่ได้ต้องปล่อยตัวจำเลย คดีอย่างเดียวกันต้องพิพากษาตัดสินเหมือนกัน ฯลฯ เป็นต้น


ที่มาของกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
1. จารีตประเพณี ถือว่าเป็นที่มาประการสำคัญของระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เนื่องจากกฎหมายระบบนี้เกิดจากการนำเอาจารีตประเพณี ซึ่งคนในสังคมยอมรับและปฏิบัติสืบต่อกันมานาน มาใช้เป็นหลักในการพิจารณาตัดสินคดีความ
 2. คำพิพากษาของศาล จารีตประเพณีใดที่ถูกนำมาใช้เป็นหลักในการพิจารณาตัดสินคดีความแล้ว ก็จะกลายเป็นคำพิพากษาของศาล ซึ่งคำพิพากษาบางเรื่องอาจถูกนำไปใช้เป็นหลัก หรือเป็นบรรทัดฐานในการพิจารณาตัดสินคดีความต่อ ๆ ไป คำพิพากษาของศาลจึงเป็นที่มาอีกประการหนึ่งของระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
3. กฎหมายลายลักษณ์อักษร ในสมัยต่อ ๆ มาบ้านเมืองเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว การที่จะรอให้จารีตประเพณีเกิดขึ้นย่อมไม่ทันกาล บางครั้งจึงจำเป็นต้องสร้างกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรขึ้นมาใช้ด้วย
4. ความเห็นของนักนิติศาสตร์ ระบบกฎหายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ยังยอมรับความเห็นของนักนิติศาสตร์มาใช้เป็นหลักในการตัดสินคดีความด้วย เพราะนักนิติศาสตร์เป็นผู้ที่ศึกษากฎหมายอยู่เสมอ เป็นผู้ที่มีความรู้ ความคิด มีเหตุผล ความเห็นของนักนิติศาสตร์ที่มีชื่อเสสียงและเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป ย่อมมีน้ำหนักพอที่จะนำไปใช้อ้างอิงในการพิจารณาตัดสินความได้
5 .หลักความยุติธรรมหรือมโนธรรมของผู้พิพากษา ในระยะหลังที่บ้านเมืองเจริญขึ้นสภาพสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ก็เปลี่ยนแปลงไป การใช้จารีตประเพณีและคำพิพากษาก่อน ๆ มาเป็นหลักในการพิจารณาตัดสินคดีความอาจไม่ยุติธรรม จึงเกิดศาลระบบใหม่ขึ้น ซึ่งศาลระบบนี้จะไม่ผูกมัดกับจารีตประเพณีหรือคำพิพากษาของศาลเดิม แต่จะยึดหลักความยุติธรรมและให้ความเป็นธรรมแก่คู่กรณี ซึ่งเรียกว่ามโนธรรมของผู้พิพากษา ซึ่งต่อมาได้รับการยอมรับเป็นส่วนหนึ่งของระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร

ง. ประเภทของกฎหมาย
ตอบ      การแบ่งแยกประเภทกฎหมายที่นิยมใช้กันมีอยู่  2 ประเภท คือ
   1.การแบ่งแยกประเภทของกฎหมายตามลักษณะแห่งการใช้เป็นการแบ่งแยกโดยพิจารณาถึงลักษณะการใช้กฎหมายเป็นหลัก ได้แก่
          -กฎหมายสารบัญญัติ คือกฎหมายที่บัญญัติถึงเนื้อหาหรือเรื่องทั่วๆไป เป็นกฎหมายที่ใช้ควบคุมความประพฤติรวมไปถึงกำหนดสิทธิและหน้าที่ต่างๆของพลเมืองไว้ เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายอาญา
          -กฎหมายวิธีสบัญญัติ คือกฎหมายที่บัญญัติถึงกระบวนการหรือวิธีการที่จะบังคับหรือดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายสารบัญญัตินั่นเอง ได้แก่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งหรือประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ฯลฯ ตัวอย่างเช่นในประมวลกฎหมายอาญาบัญญัติว่าผู้ใดฆ่าผู้อื่นผู้นั้นมีความผิด แต่ไม่ได้กำหนดว่ามีจะนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษได้อย่างไร ไม่มีขั้นตอนการดำเนินการกำหนดไว้เราก็ต้องอาศัยบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ในการจับตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ เราอาจเปรียบเทียบเป็นตัวอย่างง่ายๆได้ว่า หากเราเปรียบเทียบว่ากฎหมายสารบัญญัติเปรียบได้กับเครื่องกรองน้ำที่ใช้ในการกรองน้ำให้สะอาด  กฎหมายวิธีสบัญญัติก็จะหมายถึงวิธีการใช้เครื่องกรองน้ำนั้นหรือกระบวนการการทำงานของเครื่องกรองน้ำ ซึ่งเป็นที่มาของน้ำสะอาดให้เราใช้ดื่มกินนั่นเอง ถ้าเราไม่รู้วิธีใช้หรือไม่มีกระบวนการการกรองน้ำติดตั้งอยู่ในเครื่อง เราก็จะทำการกรองน้ำให้สะอาดไม่ได้  เช่นเดียวกันนี้ถ้าไม่มีกฎหมายวิธีสบัญญัติ การบังคับให้เป็นไปตามกฎหมายสารบัญญัติก็จะทำได้ยาก เพราะไม่มีแบบแผนและวิธีการแน่นอน ขาดความเป็นระเบียบและไร้ประสิทธิภาพ
2.แบ่งแยกประเภทของกฎหมายตามลักษณะของความสัมพันธ์ของคู่กรณี ได้แก่ 
           -กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่กำหนดถึงความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกันเอง ซึ่งกำหนดถึงสิทธิและหน้าที่ของแต่ละเอกชน รวมไปถึงสิทธิและหน้าที่ของเอกชนที่มีต่อเอกชนด้วยกันด้วย กฎหมายเอกชนก็ได้แก่กฎหมายแพ่ง  และกฎหมายพาณิชย์กฎหมายแพ่งจะกำหนดถึงสิทธิและหน้าที่รวมไปถึงความสัมพันธ์ของบุคคลตั้งแต่เกิดจนตายส่วนกฎหมายพาณิชย์ก็จะกำหนดสิทธิและหน้าที่ระหว่างบุคคลที่เข้ามามีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจต่อกัน เช่น กำหนดถึงสิทธิแบะหน้าที่ระหว่างคู่สัญญาซื้อขาย คู่สัญญากู้ยืมเงิน ฯลฯ
           -กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่ใช้บังคับความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ หน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกัน หรือความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ หน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าที่ของรัฐกับประชาชน เช่น รัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายอาญา พระธรรมนูญศาลยุติธรรม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
           -กฎหมายระหว่างประเทศ เป็นกฎหมายที่กำหนดถึงกฎเกณฑ์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เนื่องจากประเทศต่างๆในโลกต้องมีการติดต่อมีความสัมพันธ์กับประเทศอื่นๆ ทั้งในการค้า เศรษฐกิจ และการประสานงานช่วยเหลือในเรื่องต่างๆ ซึ่งกฎหมายระหว่างประเทศอาจมาในรูปของสนธิสัญญา จารีตประเพณีหรือความตกลงกันระหว่างประเทศกฎหมายระหว่างประเทศอาจไม่มีสภาพบังคับที่ชัดเจน แต่ก็ถือเป็นกฎหมายได้เนื่องจากเป็นกฎเกณฑ์ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำหรับดำเนินการให้เป็นไปตามเป้าหมายอย่างหนึ่งอย่างใดของรัฐ  เช่นกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา ฯลฯ

4ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรว่าทำไมทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมายจงอธิบาย
           ตอบ   กฎหมาย คือ ข้อบังคับที่ใช้ควบคุมความประพฤติของมนุษย์ในสังคม   เพราะการตั้งกฎหมายนั้นเกิดขึ้นจากสังคมและกฎหมายนั้นตั้งเพื่อให้สังคมดำรงอยู่ได้ และเพื่อสำหรับจัดระเบียบพฤติการณ์ในสังคม มนุษย์จำต้องมีกฎเกณฑ์เพื่อการใช้ชีวิตในประเทศให้มีความสุข การอยู่ร่วมกันของมนุษย์ อาจก่อให้เกิดความขัดแย้ง ทำร้ายร่างกาย สาเหตุมาจากความไม่พึงพอใจกัน  มีการแก่งแย่งชิงดีกันเพื่อความอยู่รอดการแก้แค้นซึ่งกันและกันถ้ามีการใช้กำลังกันบ่อยเข้าสังคมมนุษย์จึงไม่อาจดำรงอยู่ได้ ความมีเหตุผลเป็นพื้นฐานที่สังคมมนุษย์พัฒนาการจากสังคมเล็กที่สุด คือครอบครัว ไปสู่สังคมที่ใหญ่ที่สุดคือ รัฐจึงทำให้มนุษย์สร้าง กฎเกณฑ์ ระเบียบแบบแผนขึ้น

5.  สภาพบังคับทางกฎหมาย ท่านมีความเข้าใจ ว่า อย่างไร จงอธิบาย
 ตอบ    กฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ที่กำหนดความประพฤติของมนุษย์ให้อยู่ในกฎระเบียบทางสังคม เพื่อให้มนุษย์จำต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์จึงจำเป็นต้องมีการบังคับในกรณีที่มีการฝ่าฝืนกฎหมายใดไม่มีสภาพบังคับ ไม่เรียกว่าเป็นกฎหมาย สภาพบังคับ  ของกฎหมายคือโทษต่างๆในกฎหมาย ถ้าเป็นสภาพบังคับอาญา ได้แก่ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน  เป็นต้น

6. สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่ง มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

 ตอบ  แตกต่างกันด้วยสภาพบังคับ ในกฎหมายแพ่งนั้น มีสภาพบังคับประเภทหนึ่ง คือ ถ้าหากมีการล่วงละเมิดกฎหมายแพ่ง บุคคลผู้ร่วงละเมิดไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาล ก็อาจะถูกยึดทรัพย์ขายทอดตลาดเอาเงินที่ขายได้มาชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาล มิฉะนั้นอาจถูกกักขังจนกว่าจะทำตามคำพิพากษาของศาลได้ส่วนในกฎหมายอาญานั้นมีสภาพบังคับประเภทหนึ่ง คือ โทษทางอาญาซึ่งกฎหมายได้บัญญัติไว้สำหรับความผิด 

7. ระบบกฎหมายเป็นอย่างไรจงอธิบาย
 ตอบ ระบบกฎหมายหลักๆในโลกนี้มีอยู่ 4 ระบบใหญ่ๆด้วยกัน คือ
          1.ระบบกฎหมายซีวิล ลอว์(Civil Law) หรือก็คือระบบกฎหมายแบบลายลักษณ์อักษร จุดกำเนิดอยู่ที่อาณาจักรโรมันระบบกฎหมายนี้จะมีลักษณะเป็นการรวมรวมเอาจารีตประเพณีหรือกฎหมายต่างๆหรือบัญญัติกฎหมายขึ้นใหม่โดยบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรและจัดไว้เป็นหมวดหมู่อย่างเป็นระเบียบ ซึ่งเรียกว่าประมวลกฎหมาย ซึ่งแต่เดิมนั้นไม่มีการบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ชนชั้นที่ถูกปกครองในโรมันจึงมีการเรียกร้องให้ชนชั้นสูงทำการเขียนกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้ชนชั้นที่ถูกปกครองได้รู้กฎหมายด้วยซึ่งระบบกฎหมายนี้ก็ได้มีการพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ในประเทศไทยก็ใช้ระบบกฎหมายซีวิล ลอว์ ตัวอย่างก็เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายอาญา ฯลฯ
          2.ระบบกฎหมายคอมมอน ลอว์(Common Law) หรือก็คือระบบกฎหมายจารีตประเพณี จุดกำเนิดอยู่ที่อังกฤษ เนื่องจากแต่เดิมนั้นประเทศอังกฤษมีชนเผ่าอยู่มากมายหลายชนเผ่าด้วยกัน ต่อมาได้มีการจัดตั้งศาลหลวงหรือศาลพระมหากษัตริย์ขึ้นโดยคัดเลือกผู้พิพากษาที่มีความรู้จากส่วนกลางไปพิจารณาคดีในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งแต่ละชนเผ่าก็มีจารีตประเพณีที่แตกต่างกันออกไป ทำให้เกิดปัญหาในการพิจารณาคดีมากมายแต่ในภายหลังปัญหาก็ค่อยๆหมดไปเพราะเริ่มมีจารีตประเพณีที่มีลักษณะเป็นสามัญขึ้นโดยศาลหลวงได้ใช้จารีตประเพณีเหล่านี้ในการพิจารณาคดี ในระบบคอมมอน ลอว์แต่เดิมจะไม่มีการบัญญัติกฎหมายไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เมื่อศาลใช้จารีตประเพณีในการพิพากษาตัดสินคดีแล้ว ก็จะมีการบันทึกคำพิพากษานั้นเอาไว้ เพื่อใช้เป็นบรรทัดฐานในการพิจารณาคดีต่อๆไป หาข้อเท็จจริงในคดีต่อๆมาเหมือนกับคดีก่อน ศาลก็จะพิพากษาไปตามที่ได้มีการบันทึกไว้แล้ว ถือได้ว่าคำพิพากษาของศาลก็คือกฎหมายนั่นเอง แต่ปัจจุบันนี้ในประเทศอังกฤษก็ใช้ทั้งระบบกฎหมายแบบซีวิล ลอว์และคอมมอน ลอว์ ควบคู่กันไป
          3.ระบบกฎหมายสังคมนิยม(Socialist Law) จุดกำเนิดของระบบกฎหมายอยู่ที่รัสเซีย แต่เดิมรัสเซียใช้ระบบกฎหมายซีวิล ลอว์ แต่ในภายหลังเมื่อพรรคคอมมิวนิสต์ครองอำนาจ ก็ได้มีการนำหลักการและแนวความคิดของคาร์ลมาร์กซ์และเลนินมาใช้โดยเชื่อว่ากฎหมายเป็นเครื่องมือในการขัดระเบียบและกลไกในสังคม เพื่อให้คนในสังคมมีความเท่าเทียมกัน ปราศจากการกดขี่ข่มเหง ปราศจากชนชั้นวรรณะประชาชนทุกคนเป็นเจ้าของทรัพย์สินทั้งหมดร่วมกันกฎหมายมีอยู่เพื่อความเท่าเทียมเมื่อใดที่สังคมเกิดความเท่าเทียมกันแล้วกฎหมายก็ไม่มีความจำเป็นอีกต่อไปส่วนลักษณะของกฎหมายสังคมนิยมนั้นจะมีการผสมผสานระหว่างกฎหมายลายลักษณ์อักษรกับจารีตประเพณีเข้าด้วยกันโดยมีการบัญญัติกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษรส่วนจารีตประเพณีนั้นเป็นตัวช่วยในการตีความและอุดช่องว่างของกฎหมายเมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรและที่สำคัญก็คือกฎหมายในระบบสังคมนิยมนั้นต้องแฝงหลักการหรือแนวคิดของคาร์ล มาร์กซ์ และ เลนิน ด้วยเสมอ 
          4.ระบบกฎหมายศาสนาและประเพณีนิยม ลักษณะของกฎหมายในระบบนี้ โดยเนื้อหาของกฎหมายแล้วก็จะอาศัยศาสนาหรือประเพณีนิยมเป็นฐานในการบัญญัติกฎหมายขึ้นมา เช่น กฎหมายศาสนาอิสลามกำหนดหน้าที่ของชาวมุสลิมที่มีต่อพระผู้เป็นเจ้า  ในปัจจุบันประเทศที่นับถือศาสนาอิสลามกฎหมายอิสลามมีส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวกับครอบครัวและมรดกแต่ส่วนกฎหมายในเรื่องอื่นๆก็จะใช้แนวทางของกฎหมายของทางโลกตะวันตก หรือใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่จังหวัดสตูล ยะลา ปัตตานี นราธิวาส ในเรื่องครอบครัวและมรดกก็จะต้องนำกฎหมายศาสนาอิสลามมาใช้บังคับ ซึ่งถือเป็นข้อยกเว้นเฉพาะ 4 จังหวัดดังกล่าวเท่านั้น  ส่วนในเรื่องอื่นๆทุกจังหวัดก็จะใช้กฎหมายฉบับเดียวกันรวมไปถึง 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย เช่นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นต้น
     ส่วนประเพณีนิยมนั้นคือสิ่งที่คนในสังคมยอมรับและปฏิบัติสืบต่อกันมาเช่นในประเทศจีนก็มีการนำประเพณีนิยมของนักปราชญ์อย่างขงจื้อมาเป็นแนวทางในการบัญญัติกฎหมายหรือประเพณีโบราณของลัทธิชินโตก็ใช้เป็นแนวทางในการบัญญัติกฎหมายในประเทศญี่ปุ่นด้วยเช่นกัน ฯลฯ

8.  ประเภทของกฎหมายมีมีกี่ประเภท และหลักการอะไรบ้าง แต่ละประเภทประกอบด้วยอะไรบ้าง
จงยกตัวอย่าง พร้อมอธิบาย
 ตอบ ประเภทของกฎหมาย
           การแบ่งแยกประเภทกฎหมายที่นิยมใช้กันมีอยู่  2 ประเภท คือ
          1.การแบ่งแยกประเภทของกฎหมายตามลักษณะแห่งการใช้เป็นการแบ่งแยกโดยพิจารณาถึงลักษณะการใช้กฎหมายเป็นหลัก ได้แก่
          - กฎหมายสารบัญญัติ คือ
กฎหมายที่บัญญัติถึงเนื้อหาหรือเรื่องทั่วๆไปเป็นกฎหมายที่ใช้ควบคุมความประพฤติรวมไปถึงกำหนดสิทธิและหน้าที่ต่างๆของพลเมืองไว้ เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายอาญา
          -กฎหมายวิธีสบัญญัติ คือ
กฎหมายที่บัญญัติถึงกระบวนการหรือวิธีการที่จะบังคับหรือดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายสารบัญญัตินั่นเอง ได้แก่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งหรือประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ฯลฯตัวอย่างเช่นในประมวลกฎหมายอาญาบัญญัติว่าผู้ใดฆ่าผู้อื่นผู้นั้นมีความผิดแต่ไม่ได้กำหนดว่ามี
จะนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษได้อย่างไรไม่มีขั้นตอนการดำเนินการกำหนดไว้ เราก็ต้องอาศัยบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในการจับตัวผู้กระทำความผิดมา
ลงโทษเราอาจเปรียบเทียบเป็นตัวอย่างง่ายๆได้ว่าหากเราเปรียบเทียบว่ากฎหมายสารบัญญัติเปรียบได้
กับเครื่องกรองน้ำที่ใช้ในการกรองน้ำให้สะอาดกฎหมายวิธีสบัญญัติก็จะหมายถึงวิธีการใช้เครื่องกรอง
น้ำนั้นหรือกระบวนการการทำงานของเครื่องกรองน้ำ ซึ่งเป็นที่มาของน้ำสะอาดให้เราใช้ดื่มกินนั่นเอง ถ้าเราไม่รู้วิธีใช้หรือไม่มีกระบวนการการกรองน้ำติดตั้งอยู่ในเครื่องเราก็จะทำการกรองน้ำให้สะอาดไม่ได้เช่นเดียวกันนี้ถ้าไม่มีกฎหมายวิธีสบัญญัติการบังคับให้เป็นไปตามกฎหมายสารบัญญัติก็จะทำได้ยาก เพราะไม่มีแบบแผนและวิธีการแน่นอน ขาดความเป็นระเบียบและไร้ประสิทธิภาพ 

 2.แบ่งแยกประเภทของกฎหมายตามลักษณะของความสัมพันธ์ของคู่กรณี ได้แก่ 
          -กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่กำหนดถึงความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกันเอง ซึ่งกำหนดถึงสิทธิและหน้าที่ของแต่ละเอกชนรวมไปถึงสิทธิและหน้าที่ของเอกชนที่มีต่อเอกชนด้วย
กันด้วยกฎหมายเอกชนก็ได้แก่กฎหมายแพ่งและกฎหมายพาณิชย์กฎหมายแพ่งจะกำหนดถึงสิทธิและ
หน้าที่รวมไปถึงความสัมพันธ์ของบุคคลตั้งแต่เกิดจนตายส่วนกฎหมายพาณิชย์ก็จะกำหนดสิทธิและหน้าที่ระหว่างบุคคลที่เข้ามามีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจต่อกันเช่นกำหนดถึงสิทธิแบะหน้าที่ระหว่างคู่สัญญาซื้อขาย คู่สัญญากู้ยืมเงิน ฯลฯ
          -กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่ใช้บังคับความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ หน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกันหรือความสัมพันธ์ระหว่างรัฐหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าที่ของรัฐกับประชา
ชน เช่น รัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายอาญา พระธรรมนูญศาลยุติธรรม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
          -กฎหมายระหว่างประเทศ เป็นกฎหมายที่กำหนดถึงกฎเกณฑ์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เนื่องจากประเทศต่างๆในโลกต้องมีการติดต่อมีความสัมพันธ์กับประเทศอื่นๆ ทั้งในการค้า เศรษฐกิจ และการประสานงานช่วยเหลือในเรื่องต่างๆ ซึ่งกฎหมายระหว่างประเทศอาจมาในรูปของสนธิสัญญา จารีตประเพณีหรือความตกลงกันระหว่างประเทศ กฎหมายระหว่างประเทศอาจไม่มีสภาพบังคับที่ชัดเจน แต่ก็ถือเป็นกฎหมายได้ เนื่องจากเป็นกฎเกณฑ์ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำหรับดำเนินการให้เป็นไปตามเป้าหมายอย่างหนึ่งอย่างใดของรัฐ  เช่นกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา ฯลฯ

9. ท่านเข้าใจถึงคาว่าศักดิ์ของกฎหมายคืออะไรมีการแบ่งอย่างไร

 ตอบ 
  ศักดิ์ของกฎหมายคือ เป็นการจัดลำดับแห่งค่าบังคับของกฎหมายหรืออาจกล่าวได้ว่าอาศัยอำนาจขององค์กรที่ใช้อำนาจจากองค์กรที่แตกต่างกัน  จากประเด็นดังกล่าวพอที่จะกล่าวต่อไปได้อีกว่า ในการจัดลำดับมีการจัดอย่างไร ซึ่งจะต้องอาศัยหลักว่า กฎหมายหรือบทบัญญัติใดของกฎหมายที่อยู่ในลำดับที่ต่ำกว่า จะขัดหรือแย้งกับกฎหมายในลำดับที่สูงกว่าไม่ได้และเราจะพิจารณาอย่างไร


                (1) การออกกฎหมายโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ควรจะเป็นกฎหมายเฉพาะที่สำคัญ เป็นการกำหนดหลักการและนโยบายเท่านั้น เช่น พระราชบัญญัติที่ออกโดยรัฐสภาซึ่งเป็นตัวแทนของปวงชน
                (2) การให้รัฐสภา เป็นการทุ่นเวลา และทันต่อความต้องการและความจาเป็นของสังคม         (3)ฝ่ายบริหารหรือองค์กรอื่นจะออกกฎหมายลูกจะต้องอยู่ในกรอบของหลักการและนโยบายในกฎหมายหลักฉบับนั้น
มีการแบ่ง 
 1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย                           
2.พระราชบัญญัติและประมวลกฎหมาย
3.  พระราชกำหนด                                                        
4. ประกาศพระบรมราชโองการให้ใช้บังคับ
5. พระราชกฤษฎีกา                                                     
  6. กฎกระทรวง
7. ข้อบัญญัติจังหวัด                                                      
8. เทศบัญญัติ
9. ข้อบังคับองค์การบริหารส่วนตำบล

10. เหตุการณ์เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 มีเหตุการณ์ชุมนุมของประชาชนณลานพระบรมรูปทรงม้าและประชาชนได้ประกาศว่าจะมีการประชุมอย่างสงบแต่ปรากฏว่ารัฐบาลประกาศเป็นเขตพื้นที่ห้ามชุมนุมและขัดขว้างไม่ให้ประชาชนชุมนุมอย่างสงบลงมือทำร้ายร่างกายประชาชนในฐานะท่านเรียนวิชานี้ท่านจะอธิบายบอกเหตุผลว่ารัฐบาลกระทำผิดหรือถูก
 ตอบ รัฐบาลกระทำผิด เพราะ ประชาชนมีสิทธิในการจะเรียกร้องสิทธิของตนเองกันทั้งนั้น ไม่ว่จะเป็นด้านใดๆก็ตาม แต่ถ้ารัฐบาลกระทำรุนแรงกับประชาชนแล้วสิทธิของประชาชนจะตั้งไว้เพื่อเรัยร้องเเกี่ี่ยวกับเรื่องอะไร เพราะในรัฐธรรมนูญ ระบุอยู่แล้วว่า               1.บุคคลมีหน้าที่รักษาไว้ซึ่งชาติศาสนาพระมหากษัตริย์และการครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
2. บุคคลมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย
3. บุคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิของตนเอง
4. บุคคลมีหน้าที่ป้องกันประเทศ

11. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่ากฎหมายการศึกษาอย่างไรจงอธิบาย
 ตอบ  กฎหมายการศึกษา กฎหมายรัฐธรรมนูญว่าด้วยการศึกษาคือ เป็นกฎหรือคำสั่งหรือข้อบังคับของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับสถาบันหรือหน่วยงานการศึกษา ผู้มีอำนาจได้ตราขึ้นบังคับใช้ และถือว่ากฎหมายทางการศึกษาฉบับแรกคือ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ     เพื่อให้ครูและบุคลากรและผู้เกี่ยวข้องกับการศึกษา ทุกฝ่ายจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจกฎหมายการศึกษาให้มากขึ้น


12.  ในฐานะที่นักศึกษาเรียนวิชานี้ ถ้าเราไม่ศึกษากฎหมายการศึกษา ท่านคิดว่าเมื่อท่านไปประกอบอาชีพครูจะมีผลกระทบต่อท่านอย่างไร
 ตอบ ถ้าไม่กฎหมายการศึกษา เเล้วเมื่อไปประกอบอาชีพก็จะมีผลกระทบในหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นในด้านของการจัดการศึกษา สิทธิเเละหน้าที่ทางการศึกษา เเละระบบการศึกษา เป็นต้น เมื่อไม่สามารถทราบสิ่งเหล่านี้ก็ไม่สามารถ พัฒนาให้คนไทยได้มีความรู้ได้ เเละไม่สามารถพัฒนาได้สมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย เเละจิตใจก็ตาม

อนุทิน 2





ตีกันทำไม?

ยกพวกตีกันเป็นเรื่องที่เราคุ้นเคยและได้ยินมาตลอดตั้งแต่เล็กจนโตเพียงแต่รูปแบบของการทะเลาะกันนั้นนับวันจะยิ่งรุนแรงทวีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆในอดีตอาวุธที่มักได้ยินก็จำพวกไม้ หน้าสาม เหล็ก ปืนปากกา แต่ปัจจุบันที่ได้ยินตามข่าวทั่วไปจะมีอาวุธจำพวก ปืน ดาบ สปาต้า ที่พกกันอย่างโจ่งแจ้งในที่สาธารณะ ส่วนใหญ่ที่เรามักจะได้ยินหรือได้เห็นตามข่าว ดังปรากฏอยู่ในภาพ ส่วนใหญ่จะเป็นพวกเด็กช่างกล หรือกลุ่มเด็กสายอาชีวะ
สาเหตุส่วนใหญ่ที่เด็กทะเลาะกัน มักเป็นเรื่องของสถาบันที่เป็นคู่อริ เรื่องส่วนตัวจัดว่าน้อยมาก เมื่อยกพวกตีกันส่วนใหญ่แล้วจะตืกันในที่สาธารณะ ซึ่งจะสร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนที่อยู่ในละแวกนั้น และยังสร้างความเสื่อมเสียให้แก่สถาบันของตนเอง จากที่ได้เห็นในข่าวบางครั้งก็จะมีผู้เคราะห์ร้ายโดนลูกหลง จนบาดเจ็บหรือเสียชีวิต โดยพวกเขาเหล่านั้นไม่ได้รู้อิโหน่อิเหน่อะไรเลย แต่กลับต้องมาสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินโดยใช่เหตุ
เป็นที่น่าแปลกใจว่า ทำไมถึงมีแต่พวกวัยรุ่นที่ยกพวกตีกัน ซึ่งก็อาจจะมาจากวัยนี้มีอารมณ์รุนแรงกว่าวัยอื่นๆ มีอารมณ์พลุ่งพล่าน ควบคุมอารมณ์ตนเองไม่ได้ ขาดวามยับยั่งชั่งใจ ไม่เหมือนวัยผู้ใหญ่ แต่เชื่อว่าหากพวกเขาพ้นวัยนี้ พวกเขาก็จะคิดได้ แต่กว่าพวกเขาจะเป็นผู้ใหญ่ เราจะมีวิธีแก้ไขอย่างไรไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น
สมาชิกคนที่ 1 มีความคิดเห็นว่า: เริ่มต้นที่สถาบันของครอบครัว โดยครอบครัวต้องคอยดูแล เอาใจใส่ในตัวของนักเรียน/นักศึกษา และตอบให้กำลังใจแก่นักเรียน คอยรับฟังปัญหา
ผลดี: นักเรียนมีที่พึ่ง
ผลเสีย:บางครอบครัวไม่มีเวลาให้กับนักเรียน/นักศึกษา
            สมาชิกคนที่ 2 มีความคิดเห็นว่า:
ควรเอาจริงเอาจังกับเรื่องนี้โดยการใช้กฎหมายลงโทษพวกเขาอย่างจริงจังไม่มีการประณีประนอมใดๆทั้งสิ้น จับจริง ขังจริง ใช้กฎหมายเดียวกับผู้ใหญ่
ผลดี: อาจจะช่วยแก้ปัญหา เนื่องจากเด็กเหล่านี้อาจกลัวบทลงโทษของกฎหมาย
ผลเสีย: ทำให้นักเรียนคนนั้นหมดอนาคตไป
สมาชิกคนที่ 3 มีความคิดเห็นว่า : ให้สถาบันต่าง ๆ ใส่เครื่องแบบเหมือนกัน เมื่อนักเรียนสาเครื่องแบบเหมือนกันแล้ว ก็จะไม่สามารถรู้ได้ว่าเป็นสถาบันใด
ผลดี : ช่วยลดความรุนแรง เหตุทะเลาะวิวาทระหว่างสถาบันได้
ผลเสีย : เมื่อเกิดเหตุทะเลาะวิวาท ประชาชนที่เห็นเหตุการณ์จะไม่สามารถแจ้งได้ว่าเป็นสถาบันใด
สมาชิกคนที่ 4 มีความคิดเห็นว่า: ให้นักเรียนที่มีเรื่องทะเลาะวิวาทออกจากสถาบัน โดยไม่ฟังเหตุผลใด ๆ ทั้งสิ้น
ผลดี : สถาบันจะดีขึ้น ไม่มีนักเรียนที่คอยสร้างความเดือดร้อนให้กับสถาบัน
ผลเสีย : นักเรียนคนนี้ก็จะไปเป็นปัญหาของสังคมต่อไป
สมาชิกคนที่ 5 มีความคิดเห็นว่า: นำนักเรียนที่มีปัญหาทะเลาะวิวาทไปเข้าค่าฝึกวินัย ฝีกความอดทนกับทหาร
ผลดี : นักเรียนจะมีระเบียบวินัยและความอดทน
ผลเสีย : เป็นการแก้ปัญหาในระยะสั้น อาจจะไม่ได้ผลในระยะยาว

ในฐานะครู จะแนะนำนักเรียนอย่างไร
             ควรจะลูกฝังนักเรียนตั้งแต่เล็ก ๆ ว่าการกระทำแบบนี้เป็นการกระทำที่ไม่ดี เป็นปัญหาต่อสังคม นักเรียนไม่ควรปฏิบัติตามอย่างเด็ดขาด


วันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2557

อนุทิน 1

ประวัติส่วนตัว
ชื่อ นางสาวสุพรรษา กังแฮ ชื่อเล่น ษา 
เชื้อชาติไทย สัญชาติไทย ศาสนาพุธ
เิกิดวันพุธ ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ.2536 เกิดทีโรงพยาบาลตรัง
ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้ 40/3 ซ.หนองยวน5 ต.ทับเที่ยง อ.เมือง จ.ตรัง 92140
ปรัชญาชีวิต ถูกเกลียดเพราะเป็นตัวของตัวเอง ยังดีกว่ามีคนรักในสิ่งที่ตัวเองไม่ได้เป็น 
งานอดิเรก ดูหนัง ฟังเพลง อ่านหนังสือ
ประวัติการศึกษา
-จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนบ้านย่านตาขาว
-จบชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 6 จากโรงเรียนย่านตาขาวรัฐชนูปถัมภ์
-ตอนนี้กำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ชั้นปีที่ 4 
คณะครุศาสตร์ หลักสูตรคณิตศาสตร์
ประวัติครอบครัว
มีพี่น้องจำนวน 2 คน เป็นบุตรคนโต มีน้องสาว 1 คน 
พ่อมีอาชีพค้าขาย เเละเเม่มีอาชีพ เเม่บ้าน
ความชอบส่วนตัว
สีที่ชอบ สีฟ้า ขาว เเละดำ
อาหารที่ชอบ ราดหน้า ผัดซี้อิ้ว
ผลไม้ที่ชอบ องุ่น แอปเปิ้ลเเดง 
หนังสือการ์ตูนที่ชอบอ่าน การ์ตูนนารูโตะ โดราเอมอน
สิ่งที่อยากทำมากที่สุด เรียนจบปริญญาตรี มีงานทำที่มั่นคงเเละทำให้พ่อเเม่สบาย